เมนู

ดวงอาทิตย์พ้นจากราหูแล้ว ย่อมรุ่งโรจน์ ฉันใด
ท่านพ้นจากโลกแล้ว ก็จงรุ่งโรจน์ด้วยสิริ ฉันนั้น
เหมือนกันเถิด.
แม่น้ำทุกสาย ย่อมไหลลงสู่มหาสมุทร ฉันใด
โลกพร้อมทั้งเทวโลก ขอจงชุมนุมยังสำนักของท่าน
ฉันนั้นเถิด.
ครั้งนั้น เรานั้นอันเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น
สดุดีสรรเสริญแล้ว ก็สมาทานบารมีธรรม 10 ประการ
เมื่อจะยังธรรมเหล่านั้นให้บริบูรณ์จึงเข้าไปในป่าใหญ่.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิพฺพํ ความว่า เทวดาทั้งหลายถือดอกไม้
ทิพย์มีดอกมณฑารพ ดอกปาริฉัตตกะ ดอกไม้กัลปพฤกษ์ ดอกบัว เป็นต้น
มนุษย์ทั้งหลายก็ถือดอกไม้มนุษย์. บทว่า สโมกิรนฺติ ความว่า โปรยปราย
ลงบนตัวเรา. บทว่า วุฏฺฐหนฺตสฺส ได้แก่ กำลังลุกขึ้น. บทว่า เวทยนฺติ
ได้แก่ ให้ทรงรู้แล้ว ให้ทรงเข้าใจแล้ว. บทว่า โสตฺถี แปลว่า ความสวัสดี
บัดนี้ เพื่อแสดงอาการที่ให้ทรงรู้ จึงกล่าวว่า ความปรารถนาของท่านยิ่งใหญ่
เป็นต้น อธิบายว่า ข้าแต่ท่านสุเมธบัณฑิต ท่านปรารถนาตำแหน่งอันยิ่งใหญ่
ท่านจงได้ตำแหน่งนั้น สมปรารถนาเถิด.
บทว่า สพฺพีติโย ความว่า ชื่อ อีติ เพราะเป็นที่มาของอันตราย,
อันตรายทั้งปวง ชื่อว่า สัพพีติยะ ได้แก่ อุปัทวะ. บทว่า วิวชฺชนฺตุ
ได้แก่ อย่ามีเลย. บทว่า โสโก โรโค วินสฺสตุ ความว่า โศก
กล่าวคือความเศร้า และโรคกล่าวคือความเสียดแทง จงพินาศไป. บทว่า
เต ได้แก่ ตว แก่ท่าน. บทว่า มา ภวนฺตฺวนฺตรายา ได้แก่

อันตรายทั้งหลายจงอย่ามี. บทว่า ผุส ได้แก่ จงถึง จงบรรลุ. บทว่า โพธึ
ได้แก่ พระอรหัตมรรคญาณ ถึงพระสัพพัญญุตญาณก็ควร. บทว่า อุตฺตมํ
ได้แก่ ประเสริฐสุด พระอรหัตมรรคญาณ ท่านกล่าวสูงสุด เพราะให้พระพุทธ.-
คุณทั้งปวง.
บทว่า สมเย ความว่า เมื่อถึงสมัยออกดอกบานของต้นไม้นั้น ๆ.
บทว่า ปุปฺผิโน ได้แก่ ต้นไม้ดอก. บทว่า พุทฺธญาเณหิ ได้แก่ ด้วยพุทธ-
ญาณ 18. บทว่า ปุปฺผสุ ได้แก่ จงออกดอก. บทว่า ปูรยุํ ได้แก่
บำเพ็ญแล้ว . บทว่า พุชฺฌเร ได้แก่ ตรัสรู้แล้ว. บทว่า ชินโพธิยํ
ได้แก่ ในความตรัสรู้ของพระชินเจ้าคือของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อธิบายว่า
ที่โคนต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ. บทว่า ปุณฺณมาเย ได้แก่
ในราตรีเพ็ญ. บทว่า ปุณฺณมโน ได้แก่ มีมโนรถเต็มแล้ว.
บทว่า ราหุมุตฺโต ได้แก่ พันจากราหู คือโสพภานุ. บทว่า ตาเปน
ได้แก่ ด้วยแสงร้อนแรง แสงสว่าง. บทว่า โลกา มุจฺจิตฺวา ความว่า เป็น
ผู้อันโลกธรรมฉาบทาไม่ได้แล้ว . บทว่า วิโรจ ได้แก่ จงรุ่งเรือง. บทว่า
สิริยา ได้แก่ ด้วยพุทธสิริ. บทว่า โอสรนฺติ ได้แก่ ย่อมเข้าไปสู่มหาสมุทร.
บทว่า โอสรนฺตุ ได้แก่ จงเข้าไป. บทว่า ตวนฺติเก ความว่า
สู่สำนักของท่าน. บทว่า เตหิ ได้แก่ อันเทวดาทั้งหลาย. บทว่า
ถุตปฺปสฺตฺโถ ได้แก่ ชมแล้วและสรรเสริญแล้ว หรืออันพระทีปังกรพุทธเจ้า
เป็นต้นที่เทวดามนุษย์ชมแล้ว ทรงสรรเสริญแล้ว เหตุนั้นจึงชื่อว่า ผู้อันพระ-
พุทธเจ้าที่เทวดามนุษย์ชมแล้วทรงสรรเสริญแล้ว. บทว่า ทส ธมฺเม ได้แก่
บารมีธรรม 10. บทว่า ปวนํ แปลว่า ป่าใหญ่ อธิบายว่า เข้าไปป่าใหญ่ใกล้
ธัมมิกบรรพต. คาถาที่เหลือ ง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาเรื่องความปรารถนาของท่านสุเมธ
แห่งอรรถกถาพุทธวงศ์ ชื่อ มธุรัตถวิลาสินี

1. วงศ์พระทีปังกรพุทธเจ้าที่ 1



ว่าด้วยพระประวัติของพระทีปังกรพุทธเจ้า



พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเล่าเรื่องอดีตแก่พระสารีบุตรว่า
[2] เมื่อสี่อสงไขยแสนกัป มีนครชื่อ อมรนคร
น่าชมชื่นรื่นรมย์.
ไม่ว่างเว้นจากเสียง 10 เสียง พรั่งพร้อมด้วย
ข้าวน้ำ มีเสียงข้าง เสียงม้า เสียงกลอง เสียงสังข์
เสียงรถ.
เสียงอึกทึกด้วยเสียงร้องเชิญบริโภคอาหารว่าเชิญ
กินข้าว เชิญดื่มน้ำ เป็นนครเพียบพร้อมด้วยองค์
ประกอบทุกอย่าง ประกอบด้วยการงานทุกอย่าง.
สมบูรณ์ด้วยรัตนะ 7 คลาคล่ำ ด้วยชนต่างๆ
มั่งคั่ง เป็นที่อยู่ของคนมีบุญ เหมือนเทพนคร.
ในนครอมรวดี มีพราหมณ์ชื่อสุเมธมีกองทรัพย์
หลายโกฏิ มีทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นอันมาก.
เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงมนต์ จบไตรเพทถึงฝั่ง
[สำเร็จ] ในลักขณศาสตร์ อิติหาสศาสตร์ ในศาสนา
ของตน.
ครั้งนั้น เรานั่งอยู่ในที่ลับ จึงคิดอย่างนี้ว่า ขึ้น
ชื่อว่าการเกิดอีก ความแตกสลายแห่งสรีระ เป็น
ทุกข์ ถูกชราย่ำยีหลงตายก็เป็นทุกข์.